แชร์ภาพ 'ปลาโรนัน' หายากแนวโน้วสูญพันธุ์ ขายเกลื่อนตลาดปลาที่ระนอง

(เครดิตภาพจาก facebook : Go Travel Photo)
สะเทือนใจ! แห่แชร์ภาพ 'ปลาโรนัน' หายาก ขายเกลื่อนตลาดปลาที่ระนอง
สังคมออนไลน์แห่แชร์ภาพ "ลูกปลาโรนัน" สัตว์หายากจากเพจดัง บริเวณตลาดปลา จ.ระนอง ซึ่งนับว่า มีความสำคัญกับระบบนิเวศ แต่ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง สร้างความสะเทือนใจให้กับนักท่องเที่ยวและนักอนุรักษ์เป็นจำนวนมาก...
(เครดิตภาพจาก facebook : Go Travel Photo)
จากกรณีที่ เพจ Go Travel Photo ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า "เมื่อเช้ามืดวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 ได้ไปเดินเที่ยวตลาดปลาเมืองระนอง กะว่าจะได้เห็นปลาหน้าตาแปลกๆ แล้วก็ได้เจอจริงๆ!!!! คนที่ตลาดบอกว่าเป็นปลาจิ้งจก แต่พอโทรถามเพื่อนที่เป็นนักวิจัยทางทะเลแล้ว กลับกลายเป็นปลาโรนัน (Ronan หรือ Guitarfish) ซึ่งแม้จะไม่ใช่ปลาที่อยู่ในบัญชีอนุรักษ์อะไรเลย แต่จัดเป็นปลาที่หายากมากๆ ผมเลยงง ว่าหายาก ทำไมยังถูกจับมาเกลื่อนตลาดขนาดนี้ และส่วนใหญ่เป็นตัวลูกๆ ทั้งนั้น!!! ปลาโรนันเป็นปลากระดูกอ่อน ญาติใกล้ชิดกับปลาโรนิน นิสัยชอบกบดานอยู่ตามพื้นทะเล ส่วนตัวลูกๆ ชอบว่ายน้ำเข้าใกล้ชายฝั่งมาก การเห็นปลาหายากถูกจับมาขายในปริมาณมากมายขนาดเป็นคันรถแบบนี้ ก็เศร้าใจครับ เพราะมันติดอวนลากของเรือประมงขึ้นมา เศร้าอีกอย่างตรงที่ว่า มนุษย์เราช่างเป็นสัตว์ที่เห็นแก่ตัวซะจริงๆ เห็นปลาเหล่านี้เป็นแค่ตัวเลข เงิน จับกันจนท้องทะเลผลิตทดแทนไม่ทัน สัตว์น้ำจึงทยอยสูญพันธุ์กันไปทีละชนิดสองชนิดอย่างต่อเนื่อง ขอความเห็นใจ ใครช่วยโรนันที!!!"
(เครดิตภาพจาก facebook : Go Travel Photo)
ข่าว / http://www.thairath.co.th/content/585683
ปลาโรนันจุดขาว
ปลาโรนันจุดขาว (อังกฤษ: Spotted guitarfish, Giant guitarfish) ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchobatus djiddensis อยู่ในวงศ์ปลาโรนัน (Rhinobatidae) มีส่วนหัวแบนราบคล้ายปลากระเบน และเป็นทรงแหลมคล้ายหัวหอก ครีบหูขนาดใหญ่ ปาก และช่องเปิดเหงือกอยู่ด้านล่าง ครึ่งหลังคล้ายปลาฉลาม เพราะลำตัวส่วนนี้ค่อนข้างกลมมีครีบหลังสองอัน และมีแพนหางเหมือนปลาฉลาม พื้นลำตัวสีเขียว มีจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วลำตัว

ปลาโรนันจุดขาว มีความยาวประมาณ 60-180 เซนติเมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร น้ำหนัก 227 กิโลกรัม จัดว่าเป็นปลาโรนันชนิดที่ใหญ่ที่สุด พบได้ตามพื้นทะเลบริเวณชายฝั่ง ของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิค ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ทะเลแดง ในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มักอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำตื้นมากกว่าน้ำลึก รวมทั้งบางครั้งอาจเข้าไปในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดบริเวณปากแม่น้ำได้ด้วย หากินอาหารได้แก่ สัตว์หน้าดิน เช่น ปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำมีเปลือกชนิดต่าง ๆ

ปลาโรนันจุดขาว ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจโดยตรง แต่ในบางครั้งก็ติดเบ็ดหรืออวนของชาวประมง จึงเจอมีขายเป็นปลาบริโภคในตลาดปลาริมทะเลบางตลาดเป็นบางครั้งบางคราว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ 


ปลาโรนันหัวเสียมยักษ์ (อังกฤษ: Giant shovelnose ray) ปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Glaucostegus typus อยู่ในวงศ์ปลาโรนัน (Rhinobatidae) มีรูปร่างคล้ายปลาโรนันหัวเสียม (Rhinobatos productus) ที่เคยอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ว่ามีรูปร่างที่ใหญ่กว่ามาก โดยพบใหญ่เต็มที่ได้ถึง 270 เซนติเมตร ในการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง โดยพบทั้งในศรีลังกา, ออสเตรเลีย, อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, เวียดนามและไทย โดยเป็นปลาที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ สำหรับสถานะในประเทศไทยพบได้น้อยมาก มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต

ปลาโรนันหัวเสียม (อังกฤษ: Shovelnose guitarfish) ปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhinobatos productus อยู่ในวงศ์ปลาโรนัน (Rhinobatidae) จัดเป็นปลาโรนันขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ราว 1.5 เมตร มีรูปร่างเหมือนปลาโรนันจุดขาว (Rhynchobatus djiddensis) แต่มีขนาดเล็กกว่าและไม่มีจุดสีขาว

เป็นปลาโรนันที่พบกระจายอย่างกว้างขวาง โดยพบตั้งแต่บริเวณอ่าวเม็กซิโก, อ่าวแคลิฟอร์เนีย, มหาสมุทรแปซิฟิคทางตะวันออก ตลอดจนน่านน้ำในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยจัดเป็น ปลาโรนัน 1 ใน 3 ชนิดที่พบได้บ่อย (อีก 2 ชนิด คือ ปลาโรนันจุดขาว และปลาโรนิน (Rhina ancylostoma)) แต่เป็นชนิดที่พบได้น้อยกว่าปลาโรนันจุดขาวมาก
ข้อมูล วิกิพีเดีย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

จัดดอกไม้แบบทรงพุ่มเล็กและใหญ่เหมาะสมกับงานพิธีต่างๆ

รวบรวมภาพและเรื่องราวชาวเลเกาะลันตาบ้านโต๊ะบาหลิวกระบี่